วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไอซีทีลั่นนำร่องแจกแท็บเล็ตพ.ย.นี้

ไอที-นวัตกรรม

วันที่ 29 กันยายน 2554 18:13

ไอซีทีลั่นนำร่องแจกแท็บเล็ตพ.ย.นี้

TOOLS
  • เนื่องจากผู้ให้บริการเว็บไซต์ด้าน Social Network (Facebook, Twitter) และ Social bookmarking (Digg.com, delicious.com) ไม่รองรับ URL ที่เป็นภาษาไทยเพื่อคลิกกลับมายังเว็บไซด์ได้ ทางกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จึงทำ URL แบบย่อที่เป็นภาษาอังกฤษขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถส่ง URL ต่างๆ
    ในเว็บ้ให้เพื่อนและสามารถคลิกเพื่อเข้าหน้าเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ-
    ออนไลน์ ได้ทันที
    คัดลอก URL นี้เเบบย่อhelp
    คัดลอก
  •   ขนาดตัวอักษร
  • พิมพ์ข่าวนี้
  • ส่งต่อให้เพื่อน
คอลัมน์อื่นๆ
ไอซีที ขีดเส้นเริ่มแจกแทบเล็ต เด็กป.1 ตามสัญญา เริ่มนำร่อง 5 โรงเรียนใน 5 ภูมิภาคเดือน พ.ย.นี้
สมัครงานกับบริษัท ปตท.เปิดรับหลากหลายตำแหน่งวันนี้ สมัครฟรีและรับหนังสือคู่มือหางานwww.jobstreet.co.th
กำจัดปลวก อันดับ 1 ของโลกไม่เจาะพื้นไม่ฉีดเคมี สำรวจเรดาร์ ปลวกไม่หายคืนเงินT.02-553-0833www.bug888.com/T.02-553-0833-5
 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังงานแถลงข่าวบูรณาการเพื่อการแจ้งเตือนภัย และป้องกันภัยต่อประชาชน ว่าความคืบหน้านโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียน ป.1 โดยล่าสุดเตรียมนำร่องแจกแท็บเล็ตอย่างน้อยให้กับ 5 โรงเรียนใน 5 ภูมิภาค ภายในเดือนพ.ย.นี้ ซึ่งมีกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการ ขณะที่กระทรวงไอซีทีเป็นผู้บริหารจัดการคอนเทนต์
 “ขณะที่รายชื่อคณะกรรมการ(บอร์ด)หน่วยงานภายในสังกัด บจ.ไปรษณีย์ไทย บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม และซิป้า โดยในตอนนี้กระทรวงการคลังยังไม่มีการส่งรายชื่อมาทางกระทรวงแต่อย่างใด ซึ่งถ้าได้รับรายชื่อเมื่อไรจะรีบแจ้งให้ทราบทันที แต่คาดว่าไม่เกินสัปดาห์นี้อย่างแน่นอน”
 ล่าสุดกระทรวงไอซีทีร่วมมือกับ หน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาข้อมูลหน่วยงาน และกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนที่มีความชำนาญในแต่ละด้านอยู่แล้ว จากนั้นกระทรวงไอซีทีจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดก่อนที่จะกระจายข้อมูลแจ้งเตือนภัยไปสู่ประชาชน หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัย และสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ โดยใช้ช่องทางต่างๆ อาทิเช่น วิทยุภาคประชาชน วิทยุสื่อสาร หอกระจายข่าว สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัยผ่านโซเชี่ยล เน็ตเวิร์ก
 “เรายอมรับว่าในช่วงแรกยังมีข้อบกพร่องในระบบดังกล่าว เนื่องจากยังเป็นการทำงานแบบแมนนวล ยังไม่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีไอที เข้ามาใช้จึงต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบ เพื่อให้ระบบมีความเสถียรกว่าเดิม”
 นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก 3 บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในการแจ้งเตือนภัยต่างๆแก่ประชาชนล่วงหน้าในรูปแบบข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้ประชาชนรับทราบได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึงมากที่สุดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
สำหรับเกณฑ์การกระจายข้อมูล และข่าวสารของศูนย์เตือนภัยฯ นั้นจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 1.รายงาน เป็นการกระจายข่าวเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 2.เฝ้าระวัง เป็นการกระจายข่าวเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ แต่ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 3. เตือนภัย เป็นการกระจายข่าวเมื่อคาดว่าจะเกิดภัยธรรมชาติ ที่จะเป็นอันตรายมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างรุนแรงหรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง และ 4. ยกเลิก เป็นการกระจายข่าว เมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติกลับสู่ภาวะปกติ และทำการตรวจสอบข้อมูลจากทุกๆ แหล่งแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น